สัญญาณเตือน “ภาวะกระดูกพรุน”
ลักษณะอาการในช่องปากของผู้สูงอายุสตรีและบุรุษวัยทองที่แสดงออกว่ากำลังเกิด ภาวะโรคกระดูกพรุน ในร่างกาย ที่สามารถรู้ได้ด้วยตนเอง คือ • มีอาการเสียวฟันได้บ่อยๆ เนื่องจากมีการร้าวของฟัน โดยที่ฟันไม่มีรอยผุ หรือไม่มีการร่นของเหงือก โดยปกติ อาการเสียวฟัน มักมีปัญหามาจากฟันผุ หรือการมีเหงือกร่น ทำให้ส่วนผิวของรากฟันเผยผึ่ง (cementum expose) ในกรณีเสียวฟันเช่นนี้ ทันตแพทย์จะทำการรักษาฟันผุ และผิวของรากฟัน ที่เผยผึ่งให้กลับดีขึ้นดังเดิม อาการเสียวฟันก็จะหายไป แต่ในกรณีนี้ อาการเสียวฟันเกิดขึ้นจากการร้าวของฟัน (crack tooth syndrome) การร้าวของฟัน ที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟัน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งมากกว่าปกติ การกัดก้อนกรวดขนาดเล็กที่ปะปนมาในข้าวที่เรารับประทาน การกัดเน้นฟัน (clenching) และการนอนกัดฟัน (bruxism) เป็นต้น ฟันที่เกิดรอยร้าว จะพยายามรักษาตัวเอง ด้วยการสร้างเนื้อฟันจากด้านโพรงประสาทฟันขึ้นมาเสริมความแข็งแรง (reparative dentine) จึงทำให้รอยร้าวนั้นเข้าไปไม่ถึงโพรงประสาทฟัน และทำให้อาการเสียวและปวดฟันอาจหายไปเองได้ในบุคคลทั่วไปที่ยังไม่มีภาวะอาการของโรคกระดูกพรุน ในผู้สูงอายุ การร้าวของฟันจะค่อยๆ เกิดขึ้น เนื่องจากภาวะการสร้างเนื้อฟัน ขึ้นมาเสริมความแข็งแรงของฟัน เกิดขึ้นได้ช้ากว่าคนหนุ่มสาว ฟันจะมีอาการเสียว เนื่องจากการร้าวของฟัน (crack tooth